อัตลักษณ์ :

บัณฑิตจิตอาสา พัฒนาท้องถิ่น

เอกลักษณ์ :

เป็นสถาบันที่น้อมนำแนวทางการดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญา :

วิชาการเด่น เน้นคุณธรรม นำท้องถิ่นพัฒนา ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี

ปณิธาน

เสริมพลัง สร้างความเข้มแข็ง และมั่นคั่งของชุมชน

ค่านิยม

VALAYA
V : Visionary เป็นผู้รอบรู้และมีวิสัยทัศน์
A : Activeness ทำงานเชิงรุก ริเริ่มสร้างสรรค์
L : Like to learn สนใจใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
A : Adaptive ปรับตัวได้ดี พร้อมนำการเปลี่ยนแปลง
Y : Yields ผลงานเป็นที่ประจักษ์
A : Acceptance and Friendliness เป็นที่ยอมรับในการเป็นกัลยาณมิตร

วัฒนธรรมองค์กร

พัฒนานวัตกรรม มุ่งเน้นความเป็นเลิศ ร่วมพัฒนาท้องถิ่น

สมรรถนะหลัก

บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

พันธกิจ :

  1. ผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้รอบรู้มีมาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพ มีสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ วิศวกรสังคม เพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิด
ประโยชน์ต่อสังคม
  2. พัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมฐานรากและสร้างความร่วมมือกับหุ้นส่วนทางสังคมทั้งภาครัฐและสังคม สร้างเมืองและชุมชน
ท้องถิ่นให้เกิดการพัฒนาอย่างสมดุล
  3. ประสานความร่วมมือกับหุ้นส่วนทางสังคมเพื่อพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น สืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์และฟื้นฟู
มรดกวัฒนธรรม ต่อยอดสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
  4. พัฒนาระบบนิเวศ (Ecological) มหาวิทยาลัยที่เกื้อกูลการเรียนรู้วิจัย เสริมประสิทธิภาพการทำงาน สร้างนวัตกรรมและคุณภาพชีวิตของชุมชนมหาวิทยาลัย
และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

วิสัยทัศน์ :

มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้สำหรับคนทุกช่วงวัย ที่มีนวัตกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมฐานราก บนความร่วมมือของหุ้นส่วนทางสังคมให้เกิดการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน

เป้าประสงค์
  1. บัณฑิตเป็นผู้รอบรู้ มีมาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพ มีสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ วิศวกรสังคม เพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
  2. วิจัยและนวัตกรรมสามารถส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมฐานราก มีความร่วมมือกับหุ้นส่วนทางสังคมทั้งภาครัฐและสังคมเมืองและชุมชนท้องถิ่นเกิดการพัฒนาอย่างสมดุล
  3. เกิดความร่วมมือกับหุ้นส่วนทางสังคมในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น สู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงพื้นที่ รวมทั้งสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์ และฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม ต่อยอดสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
  4. ระบบนิเวศ (Ecological) มหาวิทยาลัยเกื้อกูลการเรียนรู้และการวิจัย มีประสิทธิภาพการทำงาน มีนวัตกรรมทำให้ชุมชนมหาวิทยาลัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้รอบรู้ มีมาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพ มีสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ วิศวกรทางสังคม 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การวิจัย การสร้างนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ และสังคมฐานราก 

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น สืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ต่อยอดสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ยุทธศาสตร์ 4  บริหารจัดการมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ

อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ดังนี้

มาตรา 7 ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล และยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุง ศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู

มาตรา 8 ในการดําเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตาม มาตรา 7 ให้กำหนดภาระหน้าที่ ของมหาวิทยาลัยดังต่อไปนี้

  • 1. แสวงหาความจริงเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล
  • 2. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สำนึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่นอีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิตในชุมชน เพื่อช่วยให้คนในท้องถิ่นรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง การผลิตบัณฑิต ดังกล่าว จะต้องให้มีจำนวน และคุณภาพสอดคล้องกับแผนการผลิตบัณฑิตของประเทศ
  • 3. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึก และความภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
  • 4. เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและนักการเมืองท้องถิ่นให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตย คุณธรรม จริยธรรม และความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
  • 5. เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครู ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
  • 6. ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรอื่น ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
  • 7. ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและ การประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น รวมถึงการแสวงหาแนวทางเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
  • 8. ศึกษา วิจัย ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องจาการแนวพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์

เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง

จ.ปทุมธานี 13180​

Tel : 0-2529-0674-7

Fax : 0-2529-2580

Email : saraban@vru.ac.th

number of visitors

1065020

Translate »