ระเบียบวาระที่    เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

                   ๕.๔  (ร่าง)  หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์  หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๔

 

สรุปเรื่อง       

          ปัจจุบัน สังคมและเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อันเนื่องมาจากหลายเหตุปัจจัย เศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์หนึ่งที่ศึกษาความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว บุคลากรทางด้านเศรษฐศาสตร์จึงเป็นผู้ที่เข้าใจปัญหา และสามารถแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมได้เป็นอย่างดี  อีกทั้งยังสามารถประยุกต์ความรู้กับเพื่อแก้ปัญหาในระบบธุรกิจได้ด้วย นักเศรษฐศาสตร์จึงยังคงเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน ทั้งในภาครัฐและเอกชน

          ดังนั้น เพื่อให้หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ สามารถปรับเปลี่ยนและเท่าทันไปตามการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จึงมีการพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ขึ้น เพื่อให้นักศึกษารู้ทันสมัย     ตามสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยผลักดันให้ได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและเสริมสร้างความสามารถให้หลากหลายในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์   เช่น   การลงทุนในหลักทรัพย์และการวิจัยตลาด เพื่อสร้าง    องค์ความรู้ใหม่สำหรับใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาธุรกิจและสามารถนำเอาทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นทั่วประเทศไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หลากหลาย  โดยอาศัยความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์บริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

          มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้ตั้งปณิธานอันแน่วแน่ที่จะให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม โดยมุ่งเน้นผลิตบุคลากรทางด้านเศรษฐศาสตร์ให้มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อนำเอาความรู้มาใช้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและท้องถิ่นต่อไป  จึงขอเสนอ  (ร่าง)  หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์  หลักสูตรใหม่     พ.ศ.  ๒๕๕๔  ต่อสภาวิชาการเพื่อพิจารณา

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

          ๑.  ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ  เรื่อง  กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๕๒   

          ๒.  ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จังหวัดปทุมธานี  ว่าด้วย   การจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี  พ.ศ.  ๒๕๕๑ 

 

ประเด็นที่เสนอ

          ๑.  เพื่อพิจารณา

          ๒.  สุดแต่จะเห็นสมควรเป็นประการใด

 

มติคณะกรรมการ

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................