ระเบียบวาระที่     เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

               วาระที่ ๕.๒ การเสนอขอปรับปรุงหลักสูตรเล็กน้อย (สมอ.๐๘)

สรุปเรื่อง  

๕.๒.๑ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการค้า หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๒

ด้วยวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ ได้เสนอรายละเอียดการปรับปรุงหลักสูตรเล็กน้อย (สมอ.๐๘) เป็นการปรับปรุงเพื่อให้นักศึกษากรณีที่ศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า ๓ ปี และมีความจำเป็นต้องยุติการศึกษา
สามารถยื่นขอสำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญาได้ โดยต้องศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า ๙๐ หน่วยกิต ประกอบด้วย หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิต
 หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า ๔๕ หน่วยกิต หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า ๓ หน่วยกิต ตามข้อบังคับ
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๖๒.๒ ปรับแผนการรับนักศึกษาจากเดิมรับนักศึกษาปีการศึกษาละ ๑๐๐ คน ปรับเป็นปีการศึกษาละ ๓๐ คน
ปรับคำอธิบายรายวิชา ข้อ ๒.๗ เพิ่มรายละเอียดกลยุทธ์หรือกิจกรรมของนักศึกษา ในข้อการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา และบูรณาการการจัดการเรียนการสอนแบบ
A-Activity-based Learning, B-Blended Learning, C-Cooperative Learning,
D-Design Thinking
ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการวิชาการ ในคราวประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๓ จึงเสนอสภาวิชาการเพื่อพิจารณา รายละเอียดดังแนบ

๕.๒.๒ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐

ด้วยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เสนอรายละเอียดการปรับปรุงหลักสูตรเล็กน้อย (สมอ.๐๘) เป็นการปรับปรุงโดยปรับเปลี่ยนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามประกาศ
กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘
  กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) พ.ศ. ๒๕๕๒ และเนื่องจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ประกาศมาตรการและการเฝ้าระวัง
การระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด-๑๙
 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ ๓) : การปฏิบัติการของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ “ขอให้พิจารณายกเลิกการฝึกงานทุกรูปแบบ หรือปรับเปลี่ยน
กำหนดระยะเวลาและกิจกรรมอื่นที่เหมาะสมทดแทน
” 
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จึงขอเพิ่มรายวิชา HEN476 โครงงานพิเศษเพื่อพัฒนาทักษะในการฝึกประสบการณ์ ในกลุ่มวิชาปฏิบัติการการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการวิชาการ
ในคราวประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๓ จึงเสนอสภาวิชาการเพื่อพิจารณา รายละเอียดดังแนบ

                         ๕.๒.๓ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสถานพยาบาล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๒

ด้วยคณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้เสนอรายละเอียดการปรับปรุงหลักสูตรเล็กน้อย (สมอ.๐๘)ป็นการปรับปรุงชั่วโมงการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนชั้นปริญญาตรี ตามข้อบังคับ
สภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยปรับรหัสวิชา จำนวนชั่วโมงทฤษฎี ปฏิบัติ และศึกษาด้วยตนเอง ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการวิชาการ ในคราวประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖๓
เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๓ จึงเสนอสภาวิชาการเพื่อพิจารณา รายละเอียดดังแนบ

เอกสารและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

    ๑. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) พ.ศ. ๒๕๕๒

    ๒. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘

    ๓. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๗

๔. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑

๕. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี  ว่าด้วย การจัดการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ 

๖. ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๒

๗. พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา  พ.ศ. ๒๕๖๒ บทเฉพาะกาล มาตรา ๗๙ และมาตรา ๘๐

ประเด็นที่เสนอ

               ๑.  เพื่อพิจารณา

               ๒.  สุดแต่จะเห็นสมควรเป็นประการใด

มติคณะกรรมการ

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
...............................................................................................